อาการนอนหลับที่ผิดปกติ

นอนกรน (Snoring)

     ถึงแม้ว่าคนเราอาจมีแค่อาการกรนอย่างเดียวโดยไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย (primary snoring) อาการกรนเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนไข้ obstructive sleep apnea ซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว เช่น cardiovascular problems, metabolic syndrome และอื่น ๆ

หยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)

     อาการที่พบในคนไข้ obstructive sleep apnea ที่สำคัญอาการนี้อาจจะสังเกตได้ยากถ้าไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น สำลักขณะนอนหลับ (waking up choking) ตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างกะทันหันเพื่อหายใจ (waking up gasping) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนไข้นอนคนเดียว ไม่มีคนนอนข้าง ๆ ค่อยสังเกตให้

ตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อปัสสาวะ (Nocturnal Urination)

     ถึงแม้อาการนี้พบได้บ่อยในคนไข้เบาหวาน อาการนี้ก็สามารถพบได้เช่นกันในคนไข้ obstructive sleep apnea โดยเชื่อว่าอาจจะเกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดเพิ่มขึ้นหลังคนไข้หยุดหายใจ ซึ่งเป็นการตอบสนองอย่างหนึ่งในช่วงดังกล่าว (bradycardia-tachycardia) ด้วยเหตุนี้เลือดไปที่ไตเพิ่มขึ้น มีผลทำให้มีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นในขณะนอนหลับ โดยในขณะเดียวกัน obstructive sleep apnea ก็ทำให้คนไข้นอนหลับไม่ค่อยลึกพอ จึงทำให้คนไข้สามารถรับรู้ถึงอาการปวดปัสสาวะ

ปวดศีรษะหลังจากเพิ่งตื่นนอนตอนเช้า (Morning Headache)

     คนไข้ที่มีอาการ hypoventilation ขณะนอนหลับจะไม่สามารถขับถ่ายคาร์บอนไออกไซด์ออกจากร่างกายได้อย่างเพียงพอ มีผลทำให้เส้นเลือดเเดงในสมองขยายตัวจาก respiratory acidosis จึงทำให้มีอาการปวดศีรษะ ซึ่งอาการดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในช่วงเช้า ๆ

ขาขยุกขยิก (Restless Legs)
     พบได้ในคนไข้ Restless leg syndrome โดยคนไข้ในกลุ่มนี้จะมีความรู้สึกผิดปกติที่ขา ทำให้ต้องขยับไปมาเพื่อทำให้อาการดังกล่าวทุเลาลง อาการนี้มักเกิดในช่วงค่ำ ๆ โดยอาจพบอาการนี้ได้ในคนไข้โลหิตจาง (Iron deficiency) ในช่วงขณะตั้งครรภ์ (pregnancy) คนไข้โรคไตวาย (chronic renal failure) และโรคอื่น ๆ
ขาขยับไปมาขณะนอนหลับ (Periodic Limb Movement During Sleep)
     อาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง สามารถพบร่วมได้ในคนไข้  Restless leg syndrome, Narcolepsy, Obstructive sleep apnea และโรคอื่น ๆ
ง่วงนอนผิดปกติในช่วงเวลากลางวัน (Excessive Daytime Sleepiness)
     อาการที่มีความสำคัญมากที่ต้องรีบตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา เนื่องจากอาการนี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะหรือจากการทำงาน อาการนี้โดยทั่วไปพบได้ในโรคอะไรก็ตามที่ทำให้คนไข้นอนหลับพักผ่อนได้ไม่เพียงพอหรือไม่ลึกพอ (sleep fragmentation) ซึ่งสามารถเกิดได้ในโรคต่างๆ เช่น insomnia, obstructive sleep apnea, narcolepsy และอื่นๆ
Cognitive Dysfunctions
     คนไข้ที่นอนไม่เพียงพอหรือมีปัญหาเรื่องการนอนหลับอาจมีผลต่อหน้าที่การทำงานของสมอง รวมทั้งความทรงจำทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
.

(ที่มา:https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/diseases-and-treatments/symptoms-of-sleep-disorders: Online)